วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หนังสือที่น่าอ่านให้ได้ในชีวิต‏ The books that worth to read

ร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ chodechai@fpo.go.th กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2549

หลังจากที่รอคอยกันมานาน ผมได้คัดเลือกหนังสือดีที่ควรอ่านในชีวิตนี้ 9 เล่ม โดยเป็นหนังสือที่ผมได้เลือกจากหนังสือที่เคยอ่าน ในช่วงตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก และเป็นหนังสือที่ได้จากการแนะนำของศาสตราจารย์ ผู้รู้ นักคิด นักวิชาการในสมัยที่อยู่ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี หากท่านอยากจะได้หนังสือดีมีคุณค่าและช่วยสร้างพลังความคิด นี่คือหนังสือ 9 เล่มที่ควรเก็บไว้อ่านในชีวิตนี้ 1.หนังสือเรื่อง The Wealth of Nations โดย Adam Smith ผู้ซึ่งได้ทำให้เศรษฐศาสตร์กลายเป็นสาขาวิชาที่สำคัญที่สุดสาขาหนึ่ง เขาได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ หนังสือของเขาสอนให้เรารู้ว่าเศรษฐกิจของประเทศทำงานอย่างไรด้วยมือที่มอง ไม่เห็น "Invisible Hand"

2.หนังสือเรื่อง Lombard Street : A Description of the Money Market ผู้แต่งคือ Walter Bagehot เป็นหนังสือคลาสสิก ที่ให้หลักคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ในเรื่องหลักของเงิน ธนาคารและระบบการเงิน หนังสือเล่มนี้เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้อ่านที่ต้องการเข้าใจพฤติกรรม และกลไกตลาดการเงิน ความสัมพันธ์กับการค้าและระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งวิกฤตการณ์ทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อเกิดวิกฤติศรัทธาในระบบธนาคาร หรือความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางหายไป ตลอดจนการบริหารจัดการกับความเสี่ยงและวิกฤติการเงินที่ถูกต้อง หนังสือเล่มนี้เขียนเมื่อปี ค.ศ.1873 หรือกว่า 133 ปีที่แล้ว แต่หลักคิดยังใช้ได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน และหลักที่ธนาคารกลางควรใช้ ในการจัดการกับวิกฤตการณ์ทางการเงิน และยังเสนอให้ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอิสระเป็นผู้บริหารธนาคารกลางของ ประเทศ (แทนบุคคลภายในธนาคารกลางเอง) Lombard Street เป็นชื่อของย่านธุรกิจการเงินในกรุงลอนดอน และเป็นที่เกิดของตลาดการเงินที่เก่าแก่ที่สุดของโลก

3.หนังสือเรื่อง The Competitive Advantage of Nations และ Competitive Strategy โดย Michael Porter ซึ่งอธิบายถึง ความได้เปรียบในเชิงแข่งขันได้มาจากองค์กรที่ต้องทำตัวให้พร้อมในการปรับตัว เข้ากับสภาวการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้น และความตระหนักรู้ในตลาดที่ตนอยู่และปรับตัวกับตลาดนั้นได้มากเท่าไร Porter ได้คิดค้นพัฒนากลยุทธ์ทั่วไป (Generic Strategies) และกำหนดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขัน (Competitive Forces) 5 ประการ ซึ่งสามารถนำไปใช้ กับอุตสาหกรรมต่างประเภท 5 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ยังเปราะบาง เพิ่งเกิดใหม่ เติบโตเต็มที่ ตกต่ำ และอุตสาหกรรมระดับโลก แนวคิดของ Porter มีความชัดเจน มีเหตุมีผลที่มิอาจปฏิเสธได้ เพื่อตรวจสอบ ขีดความสามารถเชิงแข่งขัน ภายในองค์กร Porter สนับสนุนให้ใช้เครือข่ายแห่งคุณค่า (Value Chain) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์กระบวนการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ขององค์กร เพื่อกำหนดออกมาให้ได้ว่า ตรงจุดไหนสามารถเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าหรือบริการและเพิ่มอย่างไร ในหนังสือเรื่อง The Competitive Advantage of Nations Porter ศึกษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก 8 แห่ง พบว่า บริษัทในประเทศใดก็ตาม ที่สภาวะการแข่งขันในตลาดภายในประเทศของตนเองมีความเข้มข้นมากที่สุด มักจะมีแนวโน้มปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เร็วที่สุด Porter ได้วางกรอบแนวคิดว่าด้วย National Diamond โดยระบุปัจจัย 4 ประเภท ที่มีอิทธิพลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศชาติอันได้แก่ ทรัพยากร อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกัน ลูกค้าที่มีอุปสงค์มาก (หรือตลาดภายในประเทศ ที่มีความต้องการมาก) และการแข่งขันภายในประเทศ หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ผมชอบมากที่สุดเล่มหนึ่ง

4.หนังสือเรื่อง The Fifth Discipline โดย Peter M. Senge ผู้ผลักดันศัพท์องค์กรแห่งการเรียนรู้ "The Learning Organization" โดยให้แนวคิดที่สำคัญที่องค์กรต้องตระหนักถึงภัยคุกคามและโอกาส วินัยต่างๆ ที่พนักงานและองค์กรต้องมี เพื่อเปลี่ยนองค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย 5 หลักแนวคิด System Theory, Personal Mastery, Mental Models, Shared Vision และ Team Learning

5.หนังสือเรื่อง Chasing Daylight : How My Forthcoming Death Transformed My Life โดย Eugene O' Kelly หนังสือเล่มนี้แต่งโดยผู้เขียนซึ่งเป็นประธาน และเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของบริษัทที่ปรึกษาการเงิน และบัญชี ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก บริษัท KPMG ผู้ซึ่งหมอบอกว่า เขามีมะเร็งในสมองและเขาจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 100 วัน เขาจึงใช้เวลาในช่วงที่เหลืออยู่นั้น เขียนหนังสือเล่มนี้ สอนให้คนอ่านรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะอยู่อย่างมีความหมาย ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาอันสั้นก็ตาม เขาเปรียบความตายที่กำลังจะมาเยือนเหมือนกับเกมของกอล์ฟที่กำลังจะจบลง ณ สิ้นวัน ในขณะที่การเล่นกอล์ฟกำลังดำเนินไป ตะวันเริ่มงวดลง เงาของแสงตะวันทอดยาวขึ้น ผู้เล่นไม่ต้องการให้เกมจบลง พวกเขาเล่นแข่งกับแสงตะวันที่กำลังงวดลง เหมือนกับการไล่ล่าแสงตะวัน ในขณะที่เกมกำลังจะจบลง ด้วยข้อคิดที่ยอดเยี่ยมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากท่านยังไม่เคยอ่านหนังสือที่คนเขียนได้เขียนในขณะที่รู้ว่าตัวเองกำลังจะ ตาย ท่านควรลองอ่านหนังสือเล่มนี้ดู

สำหรับหนังสือ 4 เล่มที่เหลือ จะกล่าวถึงตอนต่อไปในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม ครับ

หนังสือ 9 เล่มที่ต้องอ่านในชีวิตนี้ (ตอน 2)

ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ chodechai@fpo.go.th กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2549

ต่อจากตอนที่แล้วในหนังสือ 9 เล่มที่ต้องอ่านในชีวิตนี้ ที่ผมได้กล่าวไปแล้ว 5 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือดีมาก มีคุณค่าอิทธิพล และช่วยสร้างพลังความคิด ได้แก่ 1. The Wealth of Nations โดย Adam Smith 2. Lombard Street : A Description of the Money Market โดย Walter Bagehot 3. The Competitive Advantage of Nations และ Competitive Strategy โดย Michael Porter 4. The Fifth Discipline โดย Peter M. Senge 5. Chasing Daylight : How My Forthcoming Death Transformed My Life โดย Eugene O' Kelly ต่อไปนี้คือหนังสือที่ควรอ่านอีก 4 เล่มที่เหลือครับ 6. หนังสือเรื่อง A Random Walk Down Wall Street โดย Burton G. Malkiel เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดด้านการลงทุนที่ไม่ได้เขียนโดยนักขาย "Salesman" แต่เขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์การเงิน "Financial Economist"เป็นหนังสือที่สอนด้านการลงทุนที่ดีที่สุด ตั้งแต่ยุคบุกเบิกของคอมพิวเตอร์ จนถึงการล่มสลายของธุรกิจดอทคอม "Random Walk" หมายความว่า ราคาของหุ้นในระยะสั้นไม่สามารถทำนายได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้ นักลงทุนที่ไม่พยายามทำกำไรจากการทำนายการเคลื่อนไหวของตลาด สามารถทำกำไรได้มากกว่านักเก็งกำไร ที่พยายามทำกำไรจากการทำนายระยะสั้น นักลงทุนควรอ่านหนังสือเล่มนี้ทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน

7. หนังสือเรื่อง Blue Ocean Strategy โดย W. Chan Kim และ Renee Mauborgne หนังสือเล่มนี้ให้หลัก และแนวคิดที่เป็นระบบ แต่ไม่เหมือนใครในการกำหนดกลยุทธ์ ที่ทำให้การแข่งขันจากภายนอกลดลง และผลตอบแทนมากขึ้น โดยอิงกับงานวิจัยที่เชื่อถือได้ เป็นหนังสือที่ผู้ประกอบการทั้ง SME และรายใหญ่ควรอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ

8. หนังสือเรื่อง Prisoner's Dilemma โดย William Poundstone เป็นหนังสือที่ให้มุมมองแบบ 3 มิติของทฤษฎี Game Theory โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี Prisoner's Dilemma ที่ทำให้ผู้อ่านได้คิดอย่างลึกซึ้ง และยังถ่ายทอดปรัชญาความคิด ของนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง John Von Neumann

9. หนังสือเรื่อง In Search of Excellence โดย Tom Peters และ Robert Waterman เป็นหนังสือด้านการจัดการที่ทรงอิทธิพล และปลุกเร้าความคิดที่มุ่งหาความเป็นเลิศ เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดตลอดกาล

หากท่านอ่าน 9 เล่มนี้จบแล้ว และยังมีเวลาพอสมควร ท่านน่าจะพิจารณาอ่านหนังสืออีก 11 เล่ม ดังต่อไปนี้

- The Singapore Story : Memoirs of Lee Kuan Yew โดย Lee Kuan Yew

- Development as Freedom โดย Amartya Sen ผู้ซึ่งได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี 2540 ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเอเชีย

- The General Theory of Employment, Interest and Money โดย John Maynard Keynes

- Financial Shenanigans โดย Howard Schilit เป็นหนังสือที่สอนให้เราจับกลโกงทางการเงิน รวมทั้งงบการเงินและการบัญชี

- Capitalism and Freedom โดย Milton Friedman ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ที่ดีที่สุดคนหนึ่ง และเพิ่งเสียชีวิตเมื่อเร็วๆ นี้

- Input-Output Economics โดย Wassily Leontief ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1973 หนังสือที่อธิบายถึงผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงในภาคหนึ่งของเศรษฐกิจต่อภา คอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ

- Co-Opetition : A Revolution Mindset that Combines Competition and Cooperation : The Game Theory Strategy that's Changing the Game of Business โดย Adam M. Brandenburger และ Barry J. Nalebuff

- The Moral Consequences of Economic Growth โดย Benjamin M. Friedman ที่อธิบายถึงผลกระทบของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และกระแสโลกาภิวัตน์

- Fisher Black and the Revolutionary Idea of Finance โดย Perry Mchrling ท่านที่ชอบหนังสือเล่มนี้ ควรอ่านหนังสือเรื่อง My Life as a Quant : Reflections on Physics and Finance โดย Emanuel Derman

- Small is Beautiful : Economics as if People Mattered โดย E.F. Schumacher เป็นหนังสือคลาสสิกเล่มหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจขนาดเล็กก็ยอดเยี่ยมได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น: